ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นชบา

  • วันที่ 21 ตุลาคม ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งทำให้มีฝนตกลงมาที่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก และหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา พายุได้ก่อตัวขึ้นห่างอยู่ประมาณ 850 กิโลเมตร (530 ไมล์) ทางตอนใต้ของอิโวะจิมะ และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (30 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวดิ่งต่ำ และมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอุ่น
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่เหนือน่านน้ำเปิดทางตะวันตกเฉียงเหนือ และไม่มีภัยคุกคามต่อแผ่นดิน ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกข้อมูลอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านเหนืออวกาศ พายุตั้งอยู่ประมาณ 1,400 กิโลเมตร (870 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (15 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดเพื่อวัดอุณหภูมิของพายุ และดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพอุณหภูมิสูงสุดของเมฆพายุดีเปรสชันเขตร้อนเผยให้เห็นพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงบางแห่งที่อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ -53 องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางทิศใต้จุดศูนย์กลางของพายุ ข้อมูลดาวเทียมมีข้อบ่งชี้ว่าศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำถูกลมภายนอกพัดเข้ามา และนั่นเป็นสัญญาณว่าพายุอาจจะอ่อนกำลังลงมากขึ้นในระยะสั้น การพาความร้อนที่รุนแรงที่สุด หรือเมฆที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อน และอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์กลางการไหลเวียน
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า กาตริง
  • วันที่ 24 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 1] ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 2] ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และกำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 25 ตุลาคม พายุโซนร้อนชบาตั้งอยู่ประมาณ 970 กิโลเมตร (600 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 6 เมตร ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุเพื่อถ่ายภาพอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุด้วยเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศ และเผยให้เห็นว่าอุณหภูมิของเมฆมีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส นั้นแสดงว่ามีการหมุนเวียนของลมบริเวณทางทิศใต้ และทางทิศตะวันตก ยิ่งอุณหภูมิของเมฆเย็นลง พายุก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น และพายุฝนฟ้าคะนองก็รุนแรงขึ้นเช่นกัน ภาพถ่ายดาวเทียมไอน้ำแสดงให้เห็นว่าแถบพายุฝนฟ้าคะนองที่มีการพาความร้อนลึกตามแนวขอบทางทิศตะวันตกของการไหลเวียนศูนย์กลางของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา
  • วันที่ 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่ที่ทอดยาวตั้งแต่ประเทศฟิลิปปินส์ไปจนถึงจังหวัดโอกินาวะ มีการจัดระเบียบได้อย่างดี และมีกำลังแรงในขณะที่เคลื่อนตัวผ่านทะเลฟิลิปปิน พายุตั้งอยู่ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 11:50 น. (04:50 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 27 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาตั้งอยู่ประมาณ 440 กิโลเมตร (270 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงเกือบประมาณ 7 เมตร พายุยังคงอยู่ในน่านน้ำเปิดของทะเลฟิลิปปิน และมีตาพายุที่อยู่ห่างออกไป 20 กิโลเมตร (10 ไมล์) แต่เมฆของพายุได้กระจายผ่านคาเดนาไปไกลถึงตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และพายุยังคงมีกำลังแรงไว้เพราะอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวตั้งต่ำ และมีการไหลออกที่ดี ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้กระแสลมกรดบริเวณขั้วโลกทำให้แรงลมเฉือนแนวตั้งมากขึ้น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะอ่อนกำลังลงระหว่างเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นพายุไต้ฝุ่นชบาก่อนมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
  • วันที่ 28 ตุลาคม ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบาทำให้นักพยากรณ์สามารถมองเห็นความรุนแรงของพายุได้ดี ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกภาพอินฟราเรดของพายุ และแสดงให้เห็นตาพายุที่กว้าง 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงพายุลูกนี้มีกำลังแรงมาก ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศที่ได้บันทึกภาพอินฟราเรดไว้แสดงให้เห็นตาพายุของพายุได้อย่างชัดเจน อุณหภูมิของเมฆพายุฝนฟ้าคะนองที่มีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส ขณะที่พายุทำให้เกิดฝนตกหนักทางทะเลฟิลิปปินเมื่อเวลา 11:35 น. (04:35 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ให้ข้อมูลอินฟราเรดที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของเมฆพายุไต้ฝุ่นชบาแก่นักพยากรณ์ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) อุณหภูมิเหล่านั้นมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถบอกนักพยากรณ์ได้ว่าพายุฝนฟ้าคะนองมีอุณหภูมิสูงมากเท่าใด พายุก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเรดาร์ปริมาณน้ำฝนพบว่าพายุมีการจัดระเบียบได้เป็นอย่างดี และครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีฝนตกปานกลางกับฝนตกหนักมาก แต่ข้อมูลไม่ได้แสดงตาพายุได้อย่างชัดเจน และจุดศูนย์กลางของพายุได้ปรากฏให้เห็นแถบเมฆพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บริเวณศูนย์กลางการไหลเวียนของพายุไต้ฝุ่นชบาเมื่อเวลา 18:04 น. (11:04 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นชบาถึงระดับความรุนแรงสูงสุดกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 เมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลา 17:53 น. (10:53 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย พายุตั้งอยู่ประมาณ 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 10 เมตร
  • วันที่ 30 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อเคลื่อนตัวผ่านเข้าไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น และส่วนเศษซากของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ แต่มีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าใกล้คาบสมุทรอะแลสกาจนกลายเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่โดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุดกลางของ 940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วของปรอท) และจนกระทั่งสลายไปอย่างสมบูรณ์ในวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณใกล้กับคอร์โดวา รัฐอะแลสกา แต่ยังไม่ทันที่จะถึงแม่น้ำ ความชื้นในบรรยากาศก็เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือฝั่งสหรัฐ และสร้างสถิติสำหรับวันที่ฝนตกในซีแอตเทิล

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) https://earthobservatory.nasa.gov/images/event/466... https://earthobservatory.nasa.gov/images/46611/typ... https://earthobservatory.nasa.gov/images/46676/typ... https://web.archive.org/web/20101030233556/http://... https://www.bloomberg.com/news/articles/2010-10-30... https://www.insidejapantours.com/japan-news/1562/j... https://www.smh.com.au/world/japan-evacuates-islan... https://web.archive.org/web/20101031004812/http://... https://www.bloomberg.com/news/articles/2010-10-30... https://web.archive.org/web/20150410145930/http://...